วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การตรวจสอบเครื่องที่ฟิก IP เข้ามา (MikroTik Router)

การตรวจสอบเครื่องที่ฟิก IP เข้ามา และวิธีดูการใช้งาน Bandwidth ของเครื่อง ในระบบเครือข่าย


     การตรวจสอบเครื่องที่เข้ามาใช้งานภายในระบบเครือข่าย โดยการที่เครื่องนั้น Fix IP เข้ามาแทนการรับ DHCP จาก MikroTik และวิธีการดูการใช้งาน Bandwidth ของเครืองภายในระบบเครือข่าย โดยปกติเครื่องที่ตั้งรับ IP แบบอัตโนมัติ หรือขอรับ IP จาก DHCP Server เราสามารถตรวจสอบเครื่องที่เข้ามารับ IP จาก DHCP ของ MikroTik ได้ที่เมนูคำสั่ง IP จากนั้นก็คลิกเลือก DHCP Server ที่แท็บ Leases แต่สำหรับบางเครื่องที่ทำการ Fix IP เพื่อเข้ามายังเครือข่าย ในหน้าต่างของ DHCP Server จะไม่สามารถแสดงได้ว่ามีเครื่องไหนหรือ IP อะไรเข้ามาใช้ในระบบเครือข่ายของเรา

     ดังนั้นหากต้องการตรวจสอบข้อมูลก็สามารถดูได้ที่

1. เมนูคำสั่ง IP คลิกที่คำสั่ง Firewall ที่แท็บ Connections ก็จะแสดงหมายเลข IP ของครื่องต่างๆ ที่เข้ามาใช้งานและยังสามารถบอกได้ด้วยว่ากำลังทำการติดต่อกับ IP หมายเลขอะไรและติดต่อด้วย Port อะไรบ้างอีกด้วย



วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

ทำไม Admin ต้องศึกษา Linux


ทำไม Admin ต้องศึกษา Linux


Linux ถือเป็นระบบปฏิบัติการตัวหนึ่งที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีมานานพอสมควร แต่ถ้าเทียบ ความนิยมกับระบบปฏิบัติการ Windows ของ Microsoft แล้ว ยังถือว่าห่างไกลกันมาก แต่สถานะการณ์ ในปัจจุบันอาจไม่ใช่แบบเดิมอีกต่อไป นี่เป็นเหตุผลที่บทความนี้ถึงแนะนำว่าทำไม Admin หรือผู้ดูแลระบบ เครือข่ายต้องศึกษาหรือทำความรู้จักกับ Linux กันบ้างแล้ว

โลกที่เปลี่ยนไป

   เป็นที่ทราบดีว่าระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC ที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด เราคง ต้องยกให้กับ Windows เนื่องจากเป็นระบบที่ติดตั้งและใช้งานง่าย รวมถึงมีโปรแกรมต่างๆ ให้เลือกใช้มากมาย หรือเกือบทั้งหมดของโปรแกรมที่มีการพัฒนาขึ้นมา ส่วนใหญ่จะรองรับกับ Windows ทั้งหมด แต่นั่นเป็นเพียง ในฝั่งของ PC เท่านั้น


   ในยุคที่เราสามารถใช้งานโปรแกรมหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระ ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices) ต่างๆ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือสมาร์ตทีวี โดยไม่ต้องอาศัยเพียงแค่เครื่อง PC เท่านั้นถึงจะใช้งานได้ ทำให้มีผลกระทบต่อความนิยมของ Windows ที่เริ่มลดน้อยลงไป เพราะอุปกรณ์เคลื่อนที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้ ระบบปฏิบัติการของ Microsoft เลย รวมถึงอัตราส่วนในการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์เหล่านี้ก็แซงหน้าเครื่อง PC ไปเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ Microsoft จะพยายามฮึดสู้อยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถเอาชนะ Android หรือ iOS ของทางฝั่ง Google และ Apple ได้เลย


   ทำให้ปัจจุบันที่เราไม่สามารถห่างเหินจากสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตได้ จึงมีความคุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการของ Linux มากขึ้น แม้จะไม่ใช่ในเชิงลึกก็ตาม เพราะพื้นฐานของ Android และ iOS ก็ล้วนมาจากระบบเดียวกัน หรือใกล้เคียงก็คือ Linux หรือ Unix นั่นเอง เป็นการทำลายความเชื่อที่ว่า Linux หรือ Unix นั้นใช้งานยาก เพราะหากพัฒนากันอย่างจริงจังมีระบบ UI (User Interface) ที่ดีพอ ไม่ว่าจะเป็นระบบอะไร ก็สามารถ ทำให้ใช้งานได้ง่ายทั้งนั้น จะเห็นว่าแม้กระทั่งระบบของ Linux โดยตรงไม่ว่าจะเป็น Red Hat, Ubuntu หรือ Debian เดี๋ยวนี้ก็มี GUI ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นแล้ว

   เมื่อหันมามองฝั่ง Server กันบ้าง เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าในฝั่งนี้ Linux ในเวอร์ชั่น (Distribution) ต่างๆ ครอบครองตลาดส่วนใหญ่อยู่ ไม่ว่าจะเป็น Red Hat, Debian หรือ Ubuntu Server ก็ตาม และหากมองไปในอนาคตข้างหน้าที่อุปกรณ์ IoT (Internet of Thing) ต่างๆ จะเข้ามาเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เข้ามาใกล้ชิดกับผู้ใช้มากขึ้น อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ก็เลือกใช้ระบบปฏิบัติการของทางฝั่ง Linux เกือบทั้งหมด ดังนั้นหากจะมองว่าปัจจุบันในโลกของระบบปฏิบัติการ Windows อาจไม่ได้เป็นทางเลือกหลักอีกต่อไป แต่จะกลายเป็น Linux ที่เข้ามามีเป็นบทบาทมากขึ้นแทน