Wearable Device เทรนด์ใหม่ล่าสุดของ “นาฬิกาสมาร์ทโฟน”
ในยุคที่ใครๆ ก็มองหา Gadget
ใหม่ๆ หลายๆ คนก็คงนึกถึง Smart phone, tabtet แต่มีอีก Gadget หนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากัน
นั้นก็คือ Wearable Device ซึ่งนับว่าเป็นกระแสใหม่ที่กำลังถูกจับตามองและได้รับความนิยมขึ้นมาเรื่อยๆ
ซึ่งอุปกรณ์ wearable device มีจุดประสงค์หลักๆ 2 อย่างคือ
- เป็นส่วนขยายของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
- เป็นอุปกรณ์ที่คอยตรวจสอบและเก็บข้อมูลสภาวะร่างกายของผู้สวมใส่ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเคลื่อนไหว (จำนวนก้าวหรือระยะทาง) การเผาผลาญปริมาณแคลอรี่ เพื่อนำมาวิเคราะห์สุขภาพร่างกายของผู้สวมใส่ได้ทันที หรือจะทำเป็นสรุปข้อมูลภายหลังก็ได้
โดยจุดประสงค์แรกที่นำมาใช้เป็นส่วนขยายของสมาร์ทโฟนนั้น มีข้อดีคือ ช่วยในการแจ้งเตือนต่างๆ
ทำให้เราไม่ต้องหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาดูบ่อยครั้ง หรือบางอย่างสามารถตอบกลับได้จาก wearable device เลย เช่น ข้อความ SMS สั้นๆ หรือการสั่งการด้วยเสียง แต่การใช้งานเจ้า wearable device ผู้ใช้งานจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านี้เข้ากับโทรศัพท์สมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา
ทำให้ต้องมีการใช้งานแบตเตอรี่จากสมาร์ทโฟน ของเราเพิ่มมากขึ้นแบตเตอรี่ก็จะหมดเร็วขึ้นด้วย และตัวอุปกรณ์ wearable
device เองก็จำเป็นจะต้องมีแบตเตอรี่สำหรับใช้งานตลอดเวลา
ทำให้เจ้าของจะต้องนำมาไฟชาร์ทไฟหลังการใช้งาน หากมีการใช้งานมากๆ ก็อาจจะต้องชาร์ทไฟทุกวันหรือ
2-3 วันครั้งก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้สวมใส่
จุดประสงค์ของ wearable
device อย่างที่สองคือนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจเช็คและเก็บข้อมูลสภาวะร่างกายของผู้สวมใส่ ซึ่งตอบรับกับเทรนด์การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์
ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก โดยอุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเก็บข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจ
จำนวนก้าวที่เดินในแต่ละวัน ปริมาณพลังงานหรือแคลอรี่ที่ใช้ไประหว่างวัน เพื่อนำมาวิเคราะห์สุขภาพของผู้สวมใส่ให้ได้รับรู้ทันที
อ้างอิงจาก
wikipedia.com, cnet.com, flickr.com,
http://thumbsup.in.th